วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของกีฬาไทย

        ทีมาของกีฬาไทยที่ทรงคุณค่า
     มาทำความรู้จักที่มาและประวัติกีฬาพื้นบ้านกัน กีฬาพื้นบ้านของไทยเป็นกีฬา หรือ การละเล่นที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานมากซึ่งจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดกันมาเป็ฯเวลาช้านาน และพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ และหวังให้ลูกหลานไทยทุกคนได้สืบทอดและพัฒนาให้เป็นมรดกของไทยให้ชั่วลูกชั่วหลาน
กีฬาพื้นบ้านสมัยโบราณเป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานและสร้างมิตรสัมพัน์ต่อกันสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและสร้างสัมพันธ์กับผู้คนบ้านไกล้เรือนเคียงจะเห็นได้จากคนสมัยโบราณจะมีมิตรสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกัน การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเพื่อสร้างความแข็งแรงแล้วยังทำให้ผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความสนุกสนานคลายเครียด กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีสมองที่ปราดเปรื่อง และสามารถรู้จักวิธีแก้ปัญหาได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี สนุกสนาน เพลิดเพลิน แถมยังมีส่วนในการฝึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัยและสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงาน หรือการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดีจะเห็นได้ว่ากีฬาที่มีการคิดค้นขึ้นมาล้วนแต่มีประโยชน์ และมีคุณค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้สืบทอดต่อไป เช่น

                         กีฬาไทยที่บรรพชนได้คิดค้นไว้
และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป

มวยไชยา


 
                                              ประวัติมวยไชยา
         
                   
         มวยไชยาเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องบ้านเมืองมาตั้งแต่โบราณกาล มวยไชยามีที่มาจาก พ่อท่านมา แห่งวัดทุ่งจับช้าง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึ่งแต่เดิมก่อนพ่อท่านมาจะเข้าอุปสมบทนั้น ท่านเป็นทหารอยู่ในกรุงเทพฯ ดังนั้นมวยไชยาที่แท้จริงแล้วน่าจะเป็นมวยที่มีที่มาอันยาวไกลยากที่จะสืบสาวได้   
          เหตุที่มวยของพ่อท่านมามีชื่อเรียกติดปากว่า มวยไชยานั้นสืบเนื่องจากที่ท่านได้เบื่อชีวิตการเป็นทหารและเบื่อต่อฆราวาสสมบัติ ท่านจึงได้ออกบวชแล้วได้เดินธุดงค์เรื่อยไป จนได้ไปอยู่ที่วัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในขณะนั้นเองท่านได้เมตตาถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ของไทยให้กับประชาชนที่นั่น หนึ่งในลูกศิษย์ของท่าน ก็คือ ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ณ กาลนั้นเอง มวยไทยสายพ่อท่านมาจึงถูกเรียกขานจนติดปากว่า มวยไชยา

         ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ลูกๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ นายเขตร ศรียาภัย และหลังจากที่นายเขตร ศรียาภัย ได้ร่ำเรียนจากบิดาคือท่านเจ้าเมืองแล้ว นายเขตร ศรียาภัย ยังได้ร่ำเรียนจากครูมวยอื่นๆอีกรวมแล้วถึง 12 ครู ซึ่งในกาลต่อมาท่านได้ถูกขนานนามว่า ปรมาจารย์ซึ่งมวยไชยาตำรับของพ่อท่านมาที่สืบทอดมายังท่านปรมาจารย์เขตร ศรียาภัยนั้น ได้ถูกเกลา ถูกวิคราะห์ ต่อเติมให้เข้ากับยุคสมัยและสามารถใช้ได้ในเหตุการณ์จริง
          มวยไชยาตั้งแต่ครั้งอดีตจะสอนตั้งแต่การป้องกันตัว และจะเป็นการป้องกันตัวแบบ 4 ป.คือ ป้อง ปัด ปิด เปิด เป็นท่าสำคัญ ท่า 4 ป.ของไชยานั้นจะป้องกันตัวได้ตั้งแต่หัวแม่เท้ายันเส้นผม เมื่อผู้ได้ฝึก 4 ป. จนมีความชำนาญแล้ว จะสามารถเข้าใจและจะรู้ตัวเองว่า ได้ยืนอยู่หน้าประตูของการใช้ลูกไม้ต่างๆ แล้ว
           มวยไชยาเป็นมวยที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัว ดังนั้นมวยไชยาจึงเป็นหนึ่งในสายมวยที่ถูกเลือกให้เป็น กรมทนายเลือก คอยดูแลอารักขาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ และยังเป็นหนึ่งในสายมวยที่ได้รับฉายา หมื่นมวยมีชื่อเมื่อครั้งที่นายปล่อง จำนงทอง ใช้ท่าเสือลากหางอันเป็นท่าลูกไม้สำคัญเข้าทุ่มทับนักมวยจากโคราช ลงไปสลบหน้าพระที่นั่งพระพุทธเจ้าหลวง
          ดังนั้นสมบัติของชาติชิ้นนี้จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่งเสริม สานต่อให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นวิชาหลวง เป็นของเจ้านายชั้นสูง ไม่ใช่วิชาการต่อสู้ที่ชกกันเพื่อการเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว ยังหมายถึงปกป้องแผ่นดินเกิด ตลอดจนการอารักขาเบื้องพระยุคลบาทอีกด้วย
            วิชามวยไทยนั้น เป็นศิลปะการต่อสู้ชั้นสูงของไทย ซึ่งมิได้มีไว้เพื่อแสดงความสวยงามทางศิลปวัฒนธรรม หรือเป็นการต่อสู้กันบนเวทีเท่านั้น แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จะเห็นได้จากประวัติศาสตร์นักรบคนสำคัญของไทย ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องร่ำเรียนวิชามวยไทย ก่อนที่จะมาถือดาบสู้รบกับศตรูที่มารุกรานประเทศ เพราะฉะนั้นวิชามวยไทยจึงหมายถึงความปลอดภัยในชีวิต คือผู้ที่นำไปใช้จะต้องได้รับความปลอดภัย สิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีคือเอกราชของประเทศไทยที่เราได้อาศัยอยู่ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมาตราบเท่าทุกวันนี้ ฉะนั้นการสืบทอดและการถ่ายทอดวิชาจึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง หากมีข้อบกพร่องแม้แต่เพียงน้อยนิด ย่อมหมายถึงอันตรายต่อชีวิตของผู้ที่นำไปใช้ แต่การที่จะได้มีวิชาดีไว้ปกป้องตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องแลกมาด้วยความอดทน


ขอขอบคุณครูแปรง ผู้ให้ข้อมูล

เวลาในการออกกำลังกาย

          เวลาในการออกกำลังกาย 
   คุณเคยคิดหรือไม่ว่า เวลาที่เราออกกำลังกายควรจะเป็นเวลาไหนดี ที่เหมาะสมกับเรา เช่น ตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือ ตอนเย็น  จริงๆแล้ว เวลาที่ดีและเหมาะที่สุดของการออกกำลังกาย ขึ้ออยู่กับเป้าหมายของความต้องการของผู้เล่นว่ามีความต้องการเช่นไร

  หากต้องการเล่นเพื่อสร้างกล้าม
เนื้อให้แข็งแรง
ก็คารใช้เวลาในการออกกำลังกาย เป็นเวลาในช่วงบ่าย เพราะจากผลรายงานการวิจัยที่มีคนเคยทำไว้บอกมาแล้วว่า กล้ามเนื้อจะใช้งานได้ดีที่สุดตั้งแต่เวลาเที่ยงเป็นต้นไป
     หากต้องการลดน้ำหนัก
ก็ควรออกกำลังกายในตอนเช้า เพราะเวลาในตอยเช้าจะช่วยทำให้เราเผาผลาญแคลอรี่ดีกว่าในตอนเย็น และร่างกายจะนำเอาคาร์โบไฮเดรตจากการที่เรารัปประทานอาหารมือเย็นของเมื่อวานมาใช้เป็นพลังงาน
     หากออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย
ควรออกกำลังกายในเวลาตอนบ่ายๆ เพราะการออกกำลังกายในช่วงเวลาบ่ายๆของวัน จะช่วยทำให้เรานอนหลับสบายในเวลากลางคืน และยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย

ปัจจัยสำคัญของการสร้างกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย

                   ปัจจัยสำคัญในการออกกำลังกาย


ปัจจัยที่ 1.   ความตั้งใจจริง
          ความตั้งใจจริงเป็นความสำคัญระดับต้นๆของการออกกำลังกาย ผู้ที่หัดออกกำลังกายใหม่ๆ ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ต้องวาดฝันหรือจินตนาการถึงกล้ามเนื้อที่เราต้องการและให้พยายามตั้งใจทำให้ได้จริงๆ หรือมีความตั้งใจจริงอยากให้กล้ามเราสวยๆเหมือนดังที่เราตั้งใจแล้วบอกกับตัวเองว่าเราจะต้องมีกล้ามที่สวยๆให้ได้ แล้วที่เราวาดฝันไว้หรือที่เราตั้งเป้าหมายไว้จะทำให้เรามีกำลังใจในการออกกำลังกายและในการสร้างกล้ามเนื้อ และทั้งนี้ก็ต้องมีความอดทน เพราะจะต้องมีทั้งการงด เหล้า เบียร์ และ อาหารบางอย่าง เช่น พวกอาหารขยะทั้งหลาย เป็นต้น และก็ยังต้องทนต่อความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
         อีกอย่างถ้าจะให้ดีก็คารชวนเพื่อนไปเล่นด้วย เพราะจะได้มีเเรงกระตุ้นในการเล่นแบบกล้ามเนื้อ เพราะคนเล่นกล้ามมักชอบมีการเปรียบเทียบ ชอบมีการเเข่งขัน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยกระตุ่นอย่างดีในการออกกำลังกาย
ที่ทำให้อยากออกกำลังกาย รวมทั้งยั้งได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการในการสร้างกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังได้ความสนุกสนาน


ปัจจัยที่ 2.   การศึกษาวิธีที่ถูกต้อง
          หลังจากที่เรามีความตั้งใจจริงแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ เราควรศึกษาวิธีการออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง มีการศึกษาท่าทาง อุปกรณ์ และ ฟรีเวทต์ ต่างๆ หรือหาคนช่วยสอนและแนะนำวิธีการเล่นให้เราได้เล่นท่าที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เป็นผลดีในการออกกำลังกาย ในการสร้างกล้ามเนื้อ
วิธีการเล่นที่ถูกต้องยังช่วยลดการเกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้และจะทำให้ได้ผลมากยิ่งขึ้นสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อของผู้ออกกำลังกายเอง


ปัจจัยที่ 3.   อาหารการกิน
          สำหรับคนที่หัดออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อจะต้องมีการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนจะต้องรับประทานให้เยอะเพิ่มขึ้นเพื่อที่โปรตีนจะไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย เพราะเมื่อเราออกกำลังกายหนักๆทำให้เซลล์กล้ามเนื้อสึกหรอ โปรตีนก็ทำหน้าที่ไปเป็นตัวไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเราใหญ่ขึ้น
          แหล่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีนผง และอาหารเสริมโปรตีนที่ขายตามท้องตลาดทั้วไป อกไก่ ปลาเนื้อขาว เนื้อแดงล้วนๆไม่มีไขมัน ไข่ขาว ส่วนอาหารอื่นๆก็จำเป็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต จะให้พลังงานเพื่อเพิ่มแรงในการออกกำลังกายของผู้ออกกำลังกายเองแต่ก็ไม่ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะเวลาออกกำลังกายควรให้ร่างกายดึงเอาพลังงานที่สะสมในร่างกายในรูปของใขมันมาใช้ให้มากที่สุดจะทำให้ผู้ที่ออกกำลังกายดูหุ่นกระชับขึ้น


ปัจจัยที่ 4.   การพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
          ช่วงเวลาของการพักผ่อนนอนหลับเป็นช่วงที่หลั่ง Growth  Hromone  ออกมาเพื่อช่วยในการซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ Growth  Hromone  ก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็จะส่งผลในการทำให้กล้ามเนื้อไม่โต ดังนั้น ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย วันละ 7 - 8  ช.ม
เพราะการนอนหลับพักผ่อนที่ดี จะส่งผลต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

ป. เอก

อิทธิพลของลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของนักกีฬาระดับอุดมศึกษา 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          1. เพื่อศึกษาลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของนักกีฬาระดับอุดมศึกษา
          2. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของนักกีฬาระดับอุดมศึกษา
          3. เพื่อหาความแตกต่างของลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในระดับต่างกันของนักกีฬาระดับอุดมศึกษา ที่มีผลต่อปัจจัยของแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา

ขอบเขตการวิจัย
เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันของลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์กับแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ซึงมีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
1.      กลุ่มประชากรเป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศ
ไทย ครั้งที่ 31
2.      ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น คือ ลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์
ตัวแปรตาม คือ แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา

วิธีดำเนินการวิจัย
     วิธีการดำเนินการวิจัยเพื่อทดสอบการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของลักษะเป้าหมาย
ใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา มีแนวทางดังต่อไปนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักกีฬา ชาย-หญิง อายุ 18-25 ปี ที่เข้าร่วมการ
แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 ปี พ.. 2546 จำนวน 5,623 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multistage Random Sampling ) โดยคิดเป็นสัดส่วนในแต่ละชนิดกีฬา และคำนวนขนาดของกลุ่มตามสูตรของ ยามาเน่ ( Yamane, 1967, pp. 886-887 )

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน
ส่วนที่ 1. เป็นแบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้น
ส่วนที่ 2. เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการเล่นกีฬา ฉบับภาษาไทยของ ลี  วงศ์จตุรภัทร และ ฮาร์เมอร์ ( Li, Vongjaturapat, & Harmer, 1994 )แบบสอบถามฉบับนี้มีค่าความเชื่อมั่นด้านลักษณะที่มุ่งในการกระทำหรืองาน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการเล่นกีฬามีค่าเท่ากับ .80 และด้านลักษณะเป้าหมายใฝ่สำฤทธิ์ที่มุ่งเปรียบเทียบผู้อื่น มีค่าความเชื่อมั่นคงที่ภายในเท่ากับ .85 มีจำนวนข้อคำถาม 13 ข้อ และในแต่ละข้อมีลักษณะแบบอัตราส่วนประมาณค่า โดยกำหนดคำถามที่มีลักษณะมุ่งในการกระทำหรืองาน คือ ข้อ 2, 5, 7, 8, 10, 12, และ 13 สำหรับข้อคำถามที่มุ่งเปรียบเทียบผู้อื่น คือ ข้อ 1, 3, 4, 6, 9, และ 11 สำหรับการแบ่งกลุ่มลักษณะเป้าหมายใฝ่สำฤทธิ์ ระดับสูงหรือต่ำนั้นใช้วิธีการรวมคะแนนข้อคำถามของแต่ละด้านหาร 2
ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ฉบับภาษาไทย ของ  พิธพรชัยกุล ( Pithapornchaikul, 2003 ) มีข้อคำถาม 30 ข้อ แต่ละข้อจะมีลักษณะแบบอัตราส่วนประมาณค่า การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้หาความเชื่อมั่นภายในของแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92  และใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของ ครอนบาค    ( Cron bach’s Alpha Coefficient )มีค่าความเชื่อมั่นภายใน .55-.83
          จะเห็นได้ว่า แบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับที่ผู้วิจัยนำมาใช้เป็นเครื่องมือนี้ เป็นแบบสอบถามที่มีระดับความเชื่อมั่นสูง จึงสรุปได้ว่าแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับมีคุณค่าเพียงพอที่จะนำแบบสอบถามนี้ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการสร้างเครื่องมือและเทคโนโลยีในการวิจัย
          เนื่องจากผู้วิจัย ได้นำเอาแบบสอบถามของวี วงศ์จตุรภัทรและฮาร์เมอร์ ฉบับภาษาไทยเพื่อจำแนกลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำหรืองานและลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งเปรียบเทียบผู้อื่นของนักกีฬา  และใช้แบบสอบถามแรงจูงใจในการเข้าร่วมกีฬาฉบับภาษาไทยของ พิธพรชัยกุล เพื่อวัดเหตุผลหรือแรงจูงใจในการพิจารณาหรือตัดสินใจเจ้าร่วมกิจกรรมกีฬาของนักกีฬา ซึ่งแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นในระดับสูง ส่งผลให้แบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับมีคุณภาพมากที่จะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี
         
การเก็บรวบรวมข้อมูล
            ผู้วิจัยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 คน ผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 594 คน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลตามจำนวน 594 คน เพื่อคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์มากที่สุด 400 ชุด โดยตัดแบบสอบถามที่ตอบคำถามไม่ครบหรือตอบ 2 คำตอบใน 1 ข้อ เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูล
          ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ดังนี้
1.      ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล
2.      การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน คำนวนหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.      การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใชโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติลิสเรล
( LISREL ) เวอร์ชั่น 8.53 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทำการประมาณค่าพารามิเตอร์โดยวิธี ไลด์ลิฮู้ดสูงสุด
( Maximum Likelihood Estimate: ML ) ค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย
          3.1 ค่าสถิติวัดความกลมกลืน ( Goodness of Measures ) ใช้ตรวจสอบความ
เที่ยงตรงของโมเดล
          3.2 ค่าสถิติไค-สแควร์ ( Chi-square )
          3.3 ดัชนีรากของค่าเฉลี่กำลังสองของส่วนเหลือ ( Root Mean Square Residual: RMR )
          3.4 ดัชนีรากของค่าเฉลี่กำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน ( Standard RMR:SRMR )
          3.5 ดัชนีวัดความกลมกลืน ( Goodness of Fit Index: GFI )
          3.6 ดัชนีวัดระดบความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ( Adjected Goodness of Fit Index: AGF ) ควรมีค่าไม่ต่ำกว่า .90
          3.7 ดัชนีความเป็นปกติ ( Bentler and Bonett’s Normed-Index:NFI )
          3.8 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ ( Bentler’s Comparative Fit Index:CFI )
          3.9 ดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ( Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA )
     4. การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรตามหลายตัว ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรหลายตัวแปร ( Multivariate Analysis of Variance: MANOVA ) ใช้วิธี Stepdown ทำการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยั่งยืนของปัจจัยแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาโดยใช้สถิติลิสเรล และการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรตามหลายตัวแปร ( Multivariate Analysis of Variance: MANOVA ) โดยใช้วิธี Stepdown หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ( Scheffe )

ผลการนำไปใช้
            เนื่องจากแบบสอบถามที่ใช้เป็นสอบถามที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้วัดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งในการกระทำหรืองาน (Task) และกลุ่มลักษณะเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ที่มุ่งเปรียบเทียบผู้อื่น (Ego) มีแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาที่แตกต่างกัน และน่าจะศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลหรือบุคลิกภาพของนักกีฬา เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา
         

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การเล่นฟิตเนส



               การเล่นฟิตเนสให้ได้ผล
     บางคนเข้าใจว่าการเล่นฟิตเนสก็แค่ การยก การวิ่ง การเล่นตามเครื่องต่างๆ แต่การเล่นฟิตเนสให้ได้ผลนั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น เวลาที่เหมาะสม น้ำหนักที่ใช้ ความพร้อมของร่างกาย และต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับ เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เช่น เป้าหมายในการลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน สร้างกล้ามเนื้อ หรือ เล่นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
 1. เป้าหมายให้ร่างกายแข็งแรง ระบบหัวใจทำงานดี หรือเพิ่มกล้ามเนื้อ
        เริ่มจากการวอร์มร่างกาย อาจเป็นการวิ่ง การเดิน ปั่นจักรยาน หรื่อการใช้เครื่อง Cross Training หรืออื่นๆ ประมาณ 15 - 30 นาที เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงาน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่รู้สึกว่าเริ่มมีเหงื่อออก แรกๆบางคนจะรู้สึกว่าเหนื่อยมาก แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งร่างกายจะปรับตัวแล้วจะรู้สึกเหนื่อยน้อยลง
        เนื่องจากหัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งปกติคนทั่วไปมักจะหายใจสั้นๆ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนได้น้อย การที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น ก็เป็นการออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นการทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น และเป็นการทำให้เลือดในร่างกายสูบฉีดได้ดีขึ้น หลังจากการวอร์มหากต้องการเล่นพวกเครื่องออกกำลังกายก็สามารถทำได้ และถ้าเป้าหมายของเรา คือ เล่นเพื่อสุขภาพก็ให้ใช้น้ำหนัก ประมาณ 30 - 50 เปอร์เซ็นต์ ของ MAX  LOAD เล่นประมาณ 3-4 เซต
โดย หลัก คือ การใช้น้ำหนักในการเล่นน้อยๆ แต่จำนวนครั้งเยอะๆ
        ถ้าเป้าหมายเราเล่นเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ก็ต้องเน้นน้ำหนักเวทที่ใช้ให้มากขึ้น ให้ใช้น้ำหนักประมาณ 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ ของ MAX  LOAD เล่นประมาณ 4 - 5 เซต โดยเล่นเซตละ 6 - 10 ครั้ง เพราะถ้าสร้างกล้ามเนื้อต้องใช้น้ำหนักในการเล่นเยอะๆแต่จำนวนครั้งน้อนๆ การใช้น้ำหนักในการเล่นที่เพิ่มมากขึ้นเป็นการสร้างกล้ามเนื้อ
2. เป้าหมายการลดน้ำหนัก                               และการกระชับสัดส่วน
         เป็นการออกกำลังกายที่เน้นระบบการเผาผลาญไขมัน อาจใช้วิธีการวิ่ง การเดิน การปั่นจักรยานการใช้อุปกรณ์ Cross Training แต่ที่สำคัญ คือ การใช้เวลาในการออกกำลังกาย ในการเผาผลาญไขมันประมาณ 30 - 60 นาที เพราะแค่ 30 นาทีแรกจะเป็นการวอร์มร่างกายเท่านั้น เพราะ 30 นาทีแรกพลังงานที่ใช้ร่างกายจะนำเอาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไปในแต่ละวันมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ถ้าต้องการให้ร่างกายดึงเอาไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ก็ต้องใช้เวลาให้มากกว่า 30  นาทีขึ้นไปแต่ก็ไม่ควรหักโหมมากเกินไป และถ้าหากต้องการลดน้ำหนักและให้ได้รูปร่างที่เพรียวสวยจะต้องให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ได้ใช้งานมากขึ้น โดยการเล่นเวท แต่การเล่นเวทก็ไม่มีโปรแกรมที่แน่นอน ตายตัว